วันพุธที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2556

หนังแห่งประวัติศาสตร์ หนึ่งร้อยปีภาพยนตร์ “จีน” (1): 1923 – 1933

ประวัติศาสตร์ภาพยนตร์จีน ที่รวมเอาแผ่นดินใหญ่, ฮ่องกง และไต้หวัน อายุครบรอบหนึ่งรอยปีไปเมื่อ ซักสองสามปีที่แล้ว สื่อมวลชนหลายรายได้ ถือโอกาศรวมรวมหนังแห่งประวัติศาสตร์หนึ่งร้อยปีดังกล่าว ทาง MIHK ได้ลองว่าการรวมรวมรายชื่อ และค้นหาข้อมูลเพิ่มเติม เกี่ยวกับหนังแห่งประวัติศาสตร์ ที่ส่วนใหญ่หาดูได้ยาก มาให้อ่านกันครับ

………………………………………………………


Laborer’s Love – Cheng the Fruit Seller (Laogong aiqing, 1923), Zhang Shichuan Shanghai



Laborer’s Love หรือ Cheng The Fruit Seller เล่าเรื่องรักโรแมนติกของ จางหนุ่มขายผลไม้ ที่หวังเด็ดดอกฟ้า เพราะดันไปหลกรักลูกสาวของนายแพทย์ ที่อาศัยอยู่ข้างๆ บ้าน แต่ฟ้าสูง แผ่นดินต่ำ พ่อตาในอนาคตคงจะไม่ยอมให้ความรักของ อาจาง ได้สมหวังแน่ๆ นอกเสียจากว่าเขาสามารถ ช่วยเพิ่มลูกค้าให้ คลีนิค ของนายแพทย์ได้เสียก่อน จางต้องใช้วิธีใหม่ๆ ช่วยเหลือพ่อตา เพื่อความสมหวังในรัก Laborer’s Love หนังรักตลก ชวนหัว เป็นหนึ่งในหนังยุคแรกๆ ของจีนที่ยังคงหลงเหลือฟิล์มอยู่ หนังมีความยาวขนาด 30 นาที นอกจากจะเป็นหนึ่งในหน้าประวัติศาสตร์ของภาพยนตร์จีนแล้ว ยังประสบความสำเร็จสูงเมื่อแรกออกฉาย

………………………………………………………

Little Toys – Xiao wanyi (1933, Sun Yu), Shanghai



ในช่วงปลายของยุค 1920s สาวชาวบ้านคนหนึ่งต้องพบกับโศกนาตกรรมในชีวิตมากมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลจาก ความเปลี่ยนแปลงในสังคม การพัฒนาสู่ระบบเศรษฐกิจของจีน แบบทุนนิยม และภัยสงครามใหญ่ที่เกิดขึ้นอย่างไม่คาดฝัน

อาเย่อ แม่ของลูกสองคน หาเลี้ยงปากท้องของทั้งเธอ และลูกทั้งสอง ด้วยกิจการทำของเล่นเล็กๆ น้อยๆ เพื่อให้สามีนำไปขายในเมือง ในช่วงสงครามกลางเมืองสามีของ อาเย่อ ต้องเสียชีวิตไป ส่วนลูกชายของเธอ หยูเอ๋อ หายไปในระหว่างความวุ่นวาย หมู่บ้านเล็กๆ ที่อาศัยต้องพินาถย่อยยับ อาเย่อ และลูกสาว ซูเอ๋อ ต้องอพยพไปยัง เซียงไฮ้ เพื่อหาโอกาศในกิจการของเธอที่นั้น

แต่การไหล่บ่าของวัฒนธรรมต่างชาติ ไม่เปิดโอกาศให้กับอาเย่อ สังคมกำลังเห่อเหิญกับของเล่นจากต่างชาติ ที่ทั้งทันสมัย และน่าตื่นตาตื่นใจ ในช่วงสงคราม อาเย่อ และบรรดาลูกจ้างของเธอได้มีโอกาศ ช่วยกองทัพในการต่อสู้กับการรุกรานของญี่ปุ่น แต่ ซูเอ๋อ ต้องเสียชีวิตไป ทิ้งให้แม่ต้องอยู่ตามลำพัง

อาเย่อหาเลี้ยงชีพ แร่ขายของเล่นไปตามถนน วันหนึ่งเธอก็ได้พบกับลูกชายที่สูญหายไปนาน ซึ่งตอนนี้ หยู่เอ๋อ อาศัยอยู่กับนักธุรกิจผู้ร่ำรวย ซึ่งซื้อเขามาจากพวกลักพา และขายเด็ก แต่ความยาวนานของเวลา ทำให้ แม่ และลูกชาย ไม่สามารถจดจำกันและกันได้

หลังจากนั้นไม่นาน เมื่ออาเย่อ ได้เห็นคนจุดประทัดเล่น เสืยงที่ดังอึกทึก และภาพการระเบิด ทำให้ภาพระเบิดในสงครามกลับมาหลอกหลอนเธออีกครั้ง สิ่งที่ผู้หญิงคนหนึ่งทำได้ก็คือ ตะโกน และเรียกร้อง ให้ชาวจีน ตื่น และลุก ขึ้นสู้ ขับไล่ต่างชาติ

Little Toy เป็นหนึ่งในหนังที่นำเสนอเรื่องราวเชิดชูชาตินิยม และวิภาคการบุกรุกของวัฒนธรรมต่างชาติ ที่มีผลต่อระบบเศรษฐกิจ และสังคมของจีนในช่วงแห่งการล่าอนานิคม ขณะเดียวกันก็วิจารณ์ ถึงชาวจีนเอง ที่อยู่นิ่งเฉยต่อการรุกรานดังกล่าว

………………………………………………………

Spring Silkworms – Chuncan (1933, Cheng Bugao Shanghai)



ดัดแปลงมาจากนิยายชื่อดังของ เหมาตัน Spring Silkworms เล่าเรื่องของครอบครัวยากจน ที่ประกอบอาชีพในการเลี้ยงใหม พวกเขาต้องเผชิญหน้ากับ การแข่งขันกับอุตสหกรรมของต่างประเทศในยุค 1930

ในหมู่บ้านเล็กๆ แห่งหนึ่งในจังหวัดเซอเจียง ตงเป่า และครอบครัวพยายามทำทุกอย่างเพื่อให้ กิจกรรมเลี้ยงใหมของตนไปรอด ในการเลี้ยงดูตัวไหม พวกเขาต้องเผชิญหน้ากับภัยธรรมชาติ และความเชื่องมงาย ในโชคชตาฟ้ากำหนด ของตนเอง

เมื่อลูกชายตัวน้อยคนเล็ก ต้องจะเล่นสนุกกับเด็กผู้หญิงที่ชื่อว่า เหอฮัว ที่ทุกคนเชื่อว่าจะนำ ความโชคร้ายมาสู่บ้าน แต่ลูกชายก็ไม่ฟังคำทัดทาน สุดท้ายเรื่องร้ายๆ ก็เกิดขึ้นจริงๆ เมื่อ เหอฮัว ต้องกาแก้แค้น ตงเป่า ที่ปฏิบัติตัวไม่เป็นมิตรต่อเธอ เด็กสาวคว้าใหมมาเต็มสองมือ และขว้างทิ้งลงไปใน แม่น้ำอย่างไม่แยแส

เพื่อต่อสู้กับภาวะฝืดเคือง ครอบครัวของตงเป่า ต้องพยายามทำทุกทางเพื่อ ขายเส้นใหม ให้ได้มาก และราคาที่ดี ทั้งการพยายามเพื่อคุณภาพของเส้นใหม ส่วนตงเป่าเองก็ต้องเดินทาง ไปยังเมืองใกล้ๆ เพื่อขายสินค้า แต่ไม่ว่าไปที่ไหน สิ่งที่ต้องพบก็คือ ประตูที่ปิดตายเอาไว้ สืบเนื่องจากสงครามกลางที่เกิดขึ้น บรรดาร้านขายผ้า ไม่สามารถอยู่ใด้ สุดท้ายใหมที่มีค่าของขายได้ในราคาถูกแสนถูก น้ำพักน้ำแรก และหลาดเงื่อของตงเป่า และครอบครัว กลับแลกมาได้ด้วยเงินเพียงหยิบมือ

Spring Silkworms เป็นหนังเรื่องแรกๆ ของจีนที่แฝงแนวคิด ฝ่ายซ้ายลงไปในเนื้อเรื่อง หนังถูกถ่ายทำด้วยความสมจริงสมจัง ในลักษณะของสารคดี นอกจากนั้นยังวิจารณ์ความงมงายในโชคลาง และขาดซึ่งความ ความสามัคคี ของชนชั้นชาวนา นอกจากนั้นยังเล่าเรื่องชีวิตของชนชั้นล่าง ในช่วงเวลาของความเปลี่ยนแปลงทางการเมือง และระบบเศรษกิจ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น